EN

บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

ประวัติความเป็นมา

บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทย่อยของบริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) (“CHOW”) จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำและแนวโน้มเติบโตสูง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศญี่ปุ่นเริ่มให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยภายหลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากการปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะในปี 2554 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกนโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ โดยการออกมาตรการสนับสนุนอัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed in Tariff (FIT) ที่ 40 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง เทียบเท่า 14 บาทต่อหน่วยในสมัยนั้น สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าไปลงทุนและพัฒนาโรงไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน CHOW จึงเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจและได้เริ่มเข้าไปศึกษาการลงทุนและโครงสร้างการลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น และได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น จำกัด และบริษัท เชาว์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี 2556 เพื่อรองรับโครงสร้างการลงทุนดังกล่าว

 

ต่อมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 10/2557 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557 มีมติอนุมัติให้จัดตั้งบริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (“CEPL” หรือ “บริษัท”) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 เพื่อประกอบธุรกิจลงทุนในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น และธุรกิจบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบัน บริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 815 ล้านบาท และทุนชำระแล้วจำนวน 570 ล้านบาท โดย CHOW ถือหุ้นร้อยละ 87.36 และนายธนชาต เผ่าพงษ์ไพบูลย์ (“นายธนชาต”) ถือหุ้นร้อยละ 12.64 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ตามลำดับ

 

พัฒนาการที่สำคัญของบริษัทเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอำนาจในการควบคุมบริษัท และการประกอบธุรกิจที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้

CEPL จัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศไทยรวม 1 แห่ง เพื่อรองรับการลงทุนโรงไฟฟ้าในอนาคต

 

  • บริษัท ไชนิง เอสพีวี 1 จำกัด (SSPV1) ส่วนทุนเริ่มต้น 1,000,000 บาท โดย CEPL ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด ต่อมา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2565 ของบริษัท SSPV1 ได้มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกจำนวน 299,000,000 บาท โดยการออกหุ้นใหม่เป็นหุ้นสามัญ จำนวน 2,990,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท โดยเรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนร้อยละ 25 คิดเป็น 74,750,000 บาท และ SSPV1 ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565

เดือนมกราคม 2566 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของ SSPV1 มีมติอนมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 215 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 2.15 ล้านบาท มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) โดยบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นของ CSN ได้จ่ายชำระเงินค่าหุ้นดังกล่าวตามที่เรียกชำระแล้วจำนวนร้อยละ 25 จำนวน 53.75 ล้านบาท

 

เดือนมกราคม 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท มีมติอนุมัติให้เข้าลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท ไชนิง สกาย โฮลดิ้ง จำกัด (SSH) ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ในประเทศไทยย เพื่อลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดย SSH มีทุนจดทะเบียนจำนวน 1 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท)

 

เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ PSCL มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 150 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 1.5 ล้านบาท มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) โดยบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นของ PSCL ได้จ่ายชำระเงินค่าหุ้นดังกล่าวตามที่เรียกชำระแล้วจำนวนร้อยละ 33 จำนวน 49.5 ล้านบาท

 

CEPL จัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศไทยรวม 3 แห่ง เพื่อรองรับการลงทุนโรงไฟฟ้าในอนาคต

 

  • บริษัท ไชนิง สกาย โฮลดิ้ง จำกัด (SSH) ส่วนทุนเริ่มต้น 1,000,000 บาท โดย CEPL ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของเอสเอสเอช มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 491 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 4.91 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) โดยเอสเอสเอชได้ จดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 และเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ซีอีได้โอนหุ้นสามัญที่ลงทุนในซีเอสเอ็น จำนวน 415 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 4.15 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) และบริษัท ไชนิง เอสพีวี 1 จำกัด จำนวน 76 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท และหุ้นสามัญจำนวน 3 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 25 บาท) ให้แก่เอสเอสเอชเพื่อปรับโครงสร้างการลงทุนของกลุ่มบริษัท

บริษัท ไชนิ่ง โซลูชั่น จำกัด (SS) และบริษัท ไชนิง เอสพีวี 2 จำกัด (SSPV2) ส่วนทุนเริ่มต้น 1,000,000 บาท โดย CEPL ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด และ

 

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของเชาว์ แอนด์ ฮาโก้ มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 13 ล้านบาท โดยบริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ และเป็นบริษัทผู้ร่วมค้าของเชาว์ แอนด์ ฮาโก้ ได้จ่ายชำระเงินค่าหุ้นดังกล่าวตามที่เรียกชำระแล้ว จำนวนร้อยละ 50 คิดเป็นจำนวนเงิน 3.25 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว โดยเชาว์ แอนด์ ฮาโก้ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566

 

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 กลุ่มบริษัทย่อยได้ลงนามในสัญญาการจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัท ซัน พาร์ทเนอร์ เจแปน จำกัด เพื่อจำหน่ายสินทรัพย์กลุ่ม ข ที่เหลือ กับผู้ซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกันรายหนึ่ง ในประเทศญี่ปุ่นในราคา 737 ล้านเยน (ประมาณ 180 ล้านบาท) นอกจากนั้นกลุ่มบริษัทได้รับเงินมัดจำจำนวน 148 ล้านเยน (ประมาณ 36 ล้านบาท)

 

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ซีเอสเอ็นได้ซื้อหุ้นสามัญในบริษัท เอส.อาร์.โอ.เอ. จำกัด จำนวน 2 ล้านบาท จากบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของซีเอสเอ็นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 90 เป็น ร้อยละ 100

 

CEPL ได้ทำสัญญาเข้าลงทุนเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระยะยาวกับ BlackRock’s Climate Finance Partnership บริษัทในเครือของ BlackRock, Inc. (ไม่ได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ) ซึ่งเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Infrastructure Fund) โดยวัตถุประสงค์ของการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานทดแทน และจำหน่ายไฟฟ้าในรูปแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว (Power Purchase Agreement) ในประเทศไทย โดย CFP ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัท ไชนิง สกาย โฮลดิ้ง จำกัด (SSH) จำนวน 2,409,573 หุ้น ซึ่งคิดเป็น 49% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดในบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566

เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (CSN) มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 199 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 1.99 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นะล 100 บาท ) โดยบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นของ CSN ได้จ่ายเงินค่าหุ้น จำนวน 199 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว

 

เดือนมีนาคม 2565 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ บริษัท เอส.อาร์.จี.เอ. จำกัด (SRGA) มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 10 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 0.1 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นะล 100 บาท ) โดยบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นของ SRGA ได้จ่ายเงินค่าหุ้น จำนวน 10 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว

 

เดือนมีนาคม 2565 บริษัทบรรลุผลการซื้อขายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น มูลค่าสุทธิของกิจการ (Enterprise Value) ทั้งหมดประมษณ 33,000 ล้านเยน หรือเทียบเท่ากับ 9,699 ล้านบาท

 

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติการปรับโครงการสร้างองค์กร แต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และแต่งตั้งคณะผู้บริหารระดับสูง

 

เดือนสิงหาคม 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าลงทุนในหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท ไชนิง เอสพีวี 1 จำกัด (SSPV1) ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหมในประเทศไทย เพื่อลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานทดแทน โดย SSPV1 มีทุนจดทะเบียนจำนวน 1 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท)

 

เดือนตุลาคม 2565 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของ SSPV1 มีมติอนมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 299 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 2.99 ล้านบาท มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) โดยบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นของ SSPV 1 ได้จ่ายชำระเงินค่าหุ้นดังกล่าวตามที่เรียกชำระแล้วจำนวนร้อยละ 25 จำนวน 74.75 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 อาร์ไอซีไอได้โอนหุ้นทั้งหมดในบริษัท ฮามาดะ เมกะ โซลาร์ จำกัด (“เฮชเอ็มเอส”) เพื่อเข้าควบรวมกับบริษัท ฮามาดะ 1 จำกัด (“ฮามาดะ 1”) ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในการเข้าทำสัญญาซื้อขายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น โดยอาร์ไอซีไอได้เข้าเป็นนักลงทุนทีเคในฮามาดะ 1 เพื่อเป็นสิ่งตอบแทนสำหรับการโอนหุ้นเฮชเอ็มเอส ทั้งนี้ การควบรวมกิจการระหว่าง ฮามาดะ 1 และ เฮชเอ็มเอส มีผลแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 ของ CHOW ได้มีมติอนุมัติการจำหน่ายสินทรัพย์ของกลุ่มบริษัทย่อยแล้ว

 

CHOW เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ครั้งที่ 1/2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2535 มีมติอนุมัติการจำหน่ายสินทรัพย์ของกลุ่มบริษัทย่อยแล้ว

 

 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 อาร์ไอซีไอได้ทำสัญญาโอนสัดส่วนการลงทุนภายใต้สัญญาจีเค-ทีเคของการลงทุนในโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งหนึ่งและพีเอสเจพีได้ทำสัญญาโอนหุ้นสามัญของบริษัท กู๊ด โซลาร์ จำกัด (“จีโอโอดี”) ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ ตามมติของการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทย่อยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามสัญญาเสร็จสมบูรณ์และโอนส่วนได้เสียในจีโอโอดีให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้วในวันที่ 25 มิถุนายน 2564 ทำให้กลุ่มบริษัทสูญเสียอำนาจการควบคุมในจีโอโอดี

 

บริษัทได้รับคัดเลือกติดตั้งโซลาร์รูฟท๊อป ในรูปแบบ PPA จำนวน 1,222 แห่งทั่งประเทศไทย ขนาดกำลังการผลิตรวม 22.23 เมกะวัตต์ มีสิทธิการขายไฟฟ้า 15 ปี และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายนปี 2565

 

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 บริษัท เชาว์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้โอนหุ้นสามัญที่ลงทุนในบริษัท ไทย โซล่า รูฟท๊อป ซีพี จำกัด ให้แก่ บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด

 

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ได้จ่ายชำระเงินลงทุนส่วนที่เหลือจำนวน 0.375 ล้านบาทแก่บริษัท เชาว์ แอนด์ ฮาโก้ โซลาร์ จำกัด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระเพิ่มเติม

 

เมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2564 บริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น เจแปน จำกัด (“PSJP”) ได้ลงนามในสัญญาการจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัท ซัน เพาเวอร์ จำกัด (“SPW”) ซึ่งประกอบด้วยโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างก่อสร้าง 1 โครงการ และหุ้นสามัญใน SUN ให้แก่ ผู้ซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกันรายหนึ่งในประเทศญี่ป่น ซึ่งเป็นไปตามมติของการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในราคา 230 ล้านเยน (ประมาณ 67 ล้านบาท)

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 PSJP ได้ลงนามในสัญญาการจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัท โซล เพาเวอร์ จำกัด (“SOL”) ซึ่งประกอบด้วยโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานระหว่างก่อสร้าง 2 โครงการ และหุ้นสามัญใน SOL ให้แก่ ผู้ซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกันรายหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตามมติของการประชุมคณะกรรมการบริทฯ ในราคา 200 ล้านเยน (ประมาณ 58 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 กลุ่มบริษัทได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามสัญญาเสร็จสมบูรณ์และโอนกรรมสิทธิ์และส่วนได้เสียใน SOL ให้แก่ ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ทำให้กลุ่มบริษัทสูญเสียอำนาจการควบคุมใน SOL

 

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564 บริษัท ซัน พาร์ทเนอร์ เจแปน จำกัด (“SPN”) ได้ทำสัญญาโอนสินทรัพย์โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (สินทรัพย์กลุ่ม ข) และในวันที่ 30 กันยายน 2564 SPN ได้เข้าทำบันทึกข้อตกลงการขายโครงการโกเรียวกับผู้ซื้อ ตามมติของการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และได้โอนสินทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้วในวันที่ 30 กันยายน 2564

 

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 บริษัท ซัน พาร์ทเนอร์ เจแปน จำกัด (“SPN”) ได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (สินทรัพย์กลุ่ม ข) โครงการโนกาตะ และโครงการชิบูชิ ให้แก่ ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว

โครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น นิฮอนมัตสึ 3 (Nihonmatsu 3) เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 1.48 เมกะวัตต์ อัตรา FiT 32 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ระยะเวลารับซื้อ 20 ปี

 

CEPL อนุมัติให้ บริษัท เชาว์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (บริษัทย่อย) เข้าลงทุนในบริษัท ไทย โซล่า รูฟท๊อป ซีพี จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ในประเทศไทย เพื่อลงทุนในธุรกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดย บริษัท เชาว์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ลงทุนในหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด

 

CEPL จัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศไทยรวม 2 แห่ง เพื่อรองรับการลงทุนโรงไฟฟ้าในอนาคต

 

  •  จัดตั้ง บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ส่วนทุนเริ่มต้น 1,000,000 บาท โดย CEPL ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด

  •  จัดตั้ง บริษัท เอส.อาร์.จี.เอ. จำกัด ส่วนทุนเริ่มต้น 1,000,000 บาท โดย บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด

CEPL จัดตั้งบริษัทร่วมทุนในประเทศไทยรวม 2 แห่ง เพื่อรองรับการลงทุนโรงไฟฟ้าในอนาคต

 

  • จัดตั้ง บริษัท เชาว์ แอนด์ ฮาโก้ โซลาร์ จำดัด จดทะเบียนในประเทศไทย ทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว 1 ล้านบาท โดย บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และบริษัท ฮาโก้ อิเลคทริค (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 50 และร้อยละ 50 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามลำดับ เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานอาทิตย์ในประเทศไทย

  • จัดตั้ง บริษัท เชาว์ แอนด์ ซีเคอี รีนิวเอเบิ้ล จำดัด จดทะเบียนในประเทศไทย ทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว 1 ล้านบาท โดย บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด, บริษัท เจริญกรุงเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และนายแพทริค หอรัตนชัย ถือหุ้นร้อยละ 50 ร้อยละ 45 และร้อยละ 5 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามลำดับ เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานอาทิตย์และพลังงานทดแทนด้านอื่นๆ

CHOW เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2563 มีมติอนุมัติการจำหน่ายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 9 โครงการในประเทศญี่ปุ่นซึ่งคิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งหมด 64.21 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นรายการจำหน่ายไป และเห็นชอบให้นำเสนต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) เพื่อพิจารณาอนุมัติการเข้าทำรายการดังกล่าว

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้ปิดบริษัทย่อย (บริษัท นิว เอ็นเนอร์ยี่ โซลาร์ จำกัด) แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้ขายเงินลงทุนทั้งหมดในบริษัทย่อย ให้แก่ บริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ในราคา 1 ล้านเยน (ประมาณ 0.3 ล้านบาท) กลุ่มบริษัทโอนส่วนได้เสียในบริษัทย่อยให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้วในเดือนธันวาคม 2562

 

PSCL ได้จัดตั้งบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น ออสเตรเลีย จำกัด ขึ้นในประเทศออสเตรเลีย เพื่อลงทุนในธุรกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดย PSCL ได้เข้าลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 100 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น ออสเตรเลีย จำกัด (ชำระเต็มมูลค่าแล้ว) ในราคา 550,100 ดอลลาร์ออสเตรเลีย

 

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2562 บริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น ออสเตรเลีย จำกัด ได้จัดตั้งและเข้าลงทุนในหุ้นทั้งหมดของบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น โฮลโค จำกัด ในราคา 10 ดอลลาร์ออสเตรเลีย และบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น โฮลโค จำกัด ได้จัดตั้งและเข้าลงทุนในหุ้นทั้งหมดของบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น ออพโค จำกัด ในราคา 10 ดอลลาร์ออสเตรเลีย

 

CI เพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 1,200 ล้านบาท จากเดิม 340 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 3.4 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) เป็น 1,540 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 15.4 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 12 ล้านหุ้น และเสนอขายให้แก่ CEPL ในราคาหุ้นละ 100 บาท การเพิ่มทุนดังกล่าวไม่ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของซีอีเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด CEPL ได้จ่ายชำระค่าหุ้นทั้งจำนวนในเดือนกันยายน 2562 และ CI ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562

 

ในระหว่างปี 2562 มีการปรับโครงสร้างการลงทุนแบบจีเค-ทีเค (GK-TK Structure) ในบริษัทย่อยบางแห่ง ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นกันภายในกลุ่มบริษัท โดยเปลี่ยนนักลงทุนทีเค (TK Investor) ภายใต้สัญญาการลงทุนทีเค (TK Agreement) ตามกฎหมายพาณิชย์ของประเทศญี่ปุ่น

 

นอกจากนี้มีการปรับโครงสร้างการลงทุนใน HMS โดยโอนเงินลงทุนทั้งหมดใน HMS จากเดิมที่ถือหุ้นโดย PSCL ให้แก่ RICI

 

จำหน่ายโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น 5 โครงการ ให้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น มูลค่าซื้อขายรวม 1,932.30 ล้านเยน (ประมาณ 545 ล้านบาท)

 

  • โครงการโรงไฟฟ้ากิฟุ (Gifu) จังหวัดกิฟุ กำลังการผลิตติดตั้ง 0.48 เมกะวัตต์

  • โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย7 (Fukui7) จังหวัดฟุกุย กำลังการผลิตติดตั้ง 0.54 เมกะวัตต์

  • โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย1 (Fukui1) จังหวัดฟุกุย กำลังการผลิตติดตั้ง 2.22 เมกะวัตต์

  • โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย5 (Fukui5) จังหวัดฟุกุย กำลังการผลิตติดตั้ง 2.05 เมกะวัตต์

  • โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย6 (Fukui6) จังหวัดฟุกุย กำลังการผลิตติดตั้ง 0.57 เมกะวัตต์

โครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น อาโอโมริ (Aomori) เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 7.21 เมกะวัตต์ อัตรา FiT 36 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ระยะเวลารับซื้อ 20 ปี

 

PSCL เข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศออสเตรเลีย จำนวน 3 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 172.80 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 236.79 ล้านเหรียญออสเตรเลีย (หรือประมาณ 4,913.51 ล้านบาท)

จำหน่ายโครงการโรงไฟฟ้าเคียวแทงโก (Kyotango) ให้แก่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น มูลค่าซื้อขายรวม 1,540 ล้านเยน (ประมาณ 456 ล้านบาท)

 

จัดตั้ง Sun Solar GK ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในประเทศญี่ปุ่น ด้วยส่วนทุน 2,900 บาท (10,000 เยน) โดย PSJP ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด เพื่อรองรับการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น

 

โครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นรวม 4 โครงการ เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 31.52 เมกะวัตต์ ระยะเวลารับซื้อ 20 ปี

 

  1. โครงการอิวากิ (Iwaki) กำลังการผลิตติดตั้ง 26.68 เมกะวัตต์  อัตรา FIT 40 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง 

  2. โครงการฟุกุย 1 (Fukui 1) กำลังการผลิตติดตั้ง 2.22 เมกะวัตต์ อัตรา FIT 32 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

  3. โครงการฟุกุย 5 (Fukui 5) กำลังการผลิตติดตั้ง 2.05 เมกะวัตต์ อัตรา FIT 32 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

  4. โครงการฟุกุย 6 (Fukui 6) กำลังการผลิตติดตั้ง 0.57 เมกะวัตต์ อัตรา FIT 32 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 31.52 เมกะวัตต์

บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียน จำนวน 245 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นจำนวน 490 ล้านหุ้น เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) โดยมีมติจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนใหม่ ดังนี้

 

  • หุ้นจำนวน 122.50 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นของ CHOW ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Pre-emptive Rights)

  • หุ้นจำนวน 367.50 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering)

โครงการโรงไฟฟ้าฮามาดะ 2 (Hamada 2) จังหวัดชิมาเนะ เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 12 เมกะวัตต์

 

จัดตั้งบริษัท Hamada 1 GK ด้วยส่วนทุน 6,083 บาท (20,000 เยน) โดย PSJP ถือส่วนทุนร้อยละ 99.99 ของส่วนทุนทั้งหมด เพื่อรับโอนโครงการโรงไฟฟ้าฮามาดะ 1 (Hamada 1)

 

เข้าซื้อหุ้นกิจการร่วมค้าจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมมูลค่ารวม 334 ล้านบาท

 

  • PSCL ซื้อหุ้นสามัญ OGE จำนวน 1,260,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 60 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด จากบริษัท ราชบุรีพลังงาน จำกัด

  • CI ซื้อหุ้นสามัญ RICI จำนวน 9,510,060 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 60 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด จาก RH International (Singapore) Corporation Pte. Ltd.

  • ภายหลังจากการเข้าซื้อหุ้นทั้ง 2 บริษัท จากกลุ่มบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ส่งผลให้ OGE และ RICI รวมถึง Green Energy Japan KK, Mega Solar Park No. 3 GK และ Good Solar GK ซึ่งเดิมเป็นบริษัทย่อยของ OGE เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2560 โดยกลุ่มบริษัทได้ถือครองกรรมสิทธิ์โครงการโรงไฟฟ้าอิวากิ (Iwaki) กำลังการผลิตติดตั้ง 26.68 เมกะวัตต์ ปัจจุบันบริษัทได้จดทะเบียนเลิกกิจการและชำระบัญชีของบริษัท OGE และ Green Energy Japan KK เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วน RICI คณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 7/2561 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 มีมติให้เลิกกิจการ โดยอยู่ระหว่างดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทในประเทศสิงคโปร์

จำหน่ายโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น 2 โครงการ ให้แก่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น มูลค่าซื้อขายรวม 2,040 ล้านเยน (ประมาณ 595.08 ล้านบาท)

 

  • โครงการโรงไฟฟ้าโออิตะ (Oita) จังหวัดโออิตะ กำลังการผลิตติดตั้ง 3.26 เมกะวัตต์

  • โครงการโรงไฟฟ้าอิบารากิ (Ibaraki) จังหวัดอิบารากิ กำลังการผลิตติดตั้ง 1.17 เมกะวัตต์

บริษัทเรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มจำนวน 261.35 ล้านบาท โดยมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วจำนวน 570 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 57 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยภายหลังการเพิ่มทุน CHOW ถือหุ้นร้อยละ 87.36 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

 

แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)โดยมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2559 เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นบริษัทจดทะเบียน และเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ จากเดิมหุ้นละ10 บาท เป็นหุ้นละ 0.50 บาท โดยบริษัทมีทุนชำระแล้ว 570 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นจำนวน 1,140 ล้านหุ้น

 

เข้าซื้อใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้า พร้อมที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการหรือสัญญาให้สิทธิเหนือพื้นดิน สำหรับโรงไฟฟ้านิฮอนมัตสึ 3 (Nihonmatsu 3) และนิฮอนมัตสึ 4 (Nihonmatsu 4) กำลังการผลิตติดตั้งรวม 2.052 เมกะวัตต์

 

PSCL ซื้อหุ้นบริษัทย่อยในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มเติม 1 แห่ง ได้แก่ Hamada Taiyoko Center KK ส่วนทุนเริ่มต้น 32,000 บาท (100,000 เยน) โดย PSCL ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด เพื่อถือครองกรรมสิทธิ์โครงการฮามาดะ 2 (Hamada 2)

จัดตั้งบริษัท CC Hamada GK ส่วนทุนเริ่มต้น 3,200 บาท (10,000 เยน) โดย Hamada Taiyoko Center KK ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด รองรับการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น

 

โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย 7 (Fukui 7) จังหวัดฟุกุย เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 0.54 เมกะวัตต์

 

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ในประเทศไทย ซึ่งดำเนินงานโดย CI ขนาดกำลังการผลิตรวม 6.62 เมกะวัตต์ เริ่มจำหน่ายไฟเชิงพาณิชย์

บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 348.46 ล้านบาท จาก 221.54 ล้านบาท เป็น 570 ล้านบาท โดยเรียกชำระบางส่วนจำนวน 308.65 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เพื่อรองรับการขยายธุรกิจลงทุนในประเทศญี่ปุ่น

 

จัดตั้งบริษัทย่อยและเข้าซื้อบริษัทในประเทศญี่ปุ่น เพื่อรองรับการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าในอนาคต

 

  • จัดตั้งบริษัท Sun Partner GK ส่วนทุนเริ่มต้น 2,795 บาท (10,000 เยน) โดย PSJP ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด

  • เข้าซื้อส่วนทุนของบริษัท Hamada Mega Solar GK ส่วนทุนเริ่มต้น 98.51 ล้านบาท ( 320 ล้านเยน) โดย PSCL ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด เพื่อถือครองใบอนุญาตจำหน่ายโรงไฟฟ้าของโครงการฮามาดะ 1 (Hamada 1)

  • เข้าซื้อส่วนทุนของบริษัท Bay Solar GK ส่วนทุนเริ่มต้น 3,200 บาท (10,000 เยน) โดย PSJP ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เพื่อถือครองโรงไฟฟ้าชิบูชิ (Shibushi)

  • เข้าซื้อหุ้นของบริษัท New Energy Solar KK และบริษัท New Energy Frontier KK โดยแต่ละบริษัทมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้น 307,950 บาท (1,000,000 เยน) โดย PSJP ถือหุ้นร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เพื่อถือครองโรงไฟฟ้าโกเรียว (Goryo) และโรงไฟฟ้าโนกาตะ (Nogata)

เข้าซื้อใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นพร้อมที่ดินหรือสัญญาให้สิทธิเหนือพื้นดิน (Superficies Agreement) จำนวน 12 โครงการ

 

  • โครงการโรงไฟฟ้ากิฟุ (Gifu) กำลังการผลิตติดตั้ง 0.481 เมกะวัตต์

  • โครงการโรงไฟฟ้าฮามาดะ 2 (Hamada 2) กำลังการผลิตติดตั้ง 12 เมกะวัตต์

  • โครงการโรงไฟฟ้าอิบารากิ (Ibaraki) กำลังการผลิตติดตั้ง 1.167 เมกะวัตต์

  • โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย 1 (Fukui 1) ฟุกุย 5 (Fukui 5) ฟุกุย 6 (Fukui 6) ฟุกุย 7 (Fukui 7) กำลังการผลิตติดตั้งรวม 5.37 เมกะวัตต์

  • โครงการโรงไฟฟ้านิฮอนมัตสึ 1 (Nihonmatsu 1) และนิฮอนมัตสึ 2 (Nihonmatsu 2) กำลังการผลิตติดตั้งรวม 3.979 เมกะวัตต์

  • โครงการโรงไฟฟ้าไซโตะ (Saito) กำลังการผลิตติดตั้ง 2.23 เมกะวัตต์

  • โครงการโรงไฟฟ้าอาโอโมริ (Aomori) กำลังการผลิตติดตั้ง 7.207 เมกะวัตต์

โครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นรวม 7 โครงการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 19.52 เมกะวัตต์ ระยะเวลารับซื้อ 20 ปี

 

  1. โครงการโออิตะ (Oita) กำลังการผลิตติดตั้ง 3.26 เมกะวัตต์ / อัตรา FIT 40 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

  2. โครงการอิบารากิ (Ibaraki) กำลังการผลิตติดตั้ง 1.17 เมกะวัตต์ / อัตรา FIT 36 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

  3. โครงการโกเรียว (Goryo) กำลังการผลิตติดตั้ง 1.50 เมกะวัตต์ / อัตรา FIT 40 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

  4. โครงการโนกาตะ (Nogata) กำลังการผลิตติดตั้ง 1.11 เมกะวัตต์ / อัตรา FIT40 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

  5. โครงการชิบูชิ (Shibushi) กำลังการผลิตติดตั้ง1.00 เมกะวัตต์ / อัตรา FIT 40 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

  6. โครงการกิฟุ (Gifu) กำลังการผลิตติดตั้ง 0.48 เมกะวัตต์ / อัตรา FIT 36 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

  7. โครงการฮามาดะ 1 (Hamada 1) กำลังการผลิตติดตั้ง 11.00 เมกะวัตต์

รวม 19.52 เมกะวัตต์

PSCL เพิ่มทุนจดทะเบียนและชำระแล้วจาก 5 ล้านบาท เป็น 7.1 ล้านบาท รองรับการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

 

PSCL จัดตั้งบริษัทย่อยในต่างประเทศรวม 2 แห่ง เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้า ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

 

  • บริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น เจแปน จำกัด (“PSJP”) จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้นประมาณ 29.84 ล้านบาท (100 ล้านเยน) ถือหุ้นโดย PSCL ร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เพื่อรองรับการลงทุนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น

  • บริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น เยอรมัน จำกัด (“PSGM”) จดทะเบียนในประเทศเยอรมัน ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้นประมาณ 1.12 ล้านบาท (25,000 ยูโร) ถือหุ้นโดย PSCL ร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เพื่อทำหน้าที่ช่วยประสานงานการทำประกันภัยของโครงการโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 7/2561 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 ได้มีมติอนุมัติให้เลิกกิจการของ PSGM โดยปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทในประเทศเยอรมัน

PSJP จัดตั้งและเข้าซื้อบริษัทย่อยในประเทศญี่ปุ่นรวม 4 แห่ง เพื่อรองรับการลงทุนโรงไฟฟ้าในอนาคต

 

  • จัดตั้ง 2 บริษัท ได้แก่ Sol Power GK ส่วนทุนเริ่มต้น 2,984 บาท (10,000 เยน) และ Sun Energy GK ส่วนทุนเริ่มต้น 2,925 บาท (10,000 เยน) โดย PSJP ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด

  • เข้าซื้อหุ้น 1 บริษัท ได้แก่ AE Solar GK ส่วนทุนเริ่มต้น 3,200 บาท (10,000 เยน) โดย PSJP ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด

  • เข้าซื้อหุ้น 1 บริษัท ได้แก่ SPJ 2002 KK ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้น 32,000 บาท (100,000 เยน) โดย PSCL ถือหุ้นร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เพื่อครอบครองใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าและสิทธิการใช้ที่ดินสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าโออิตะ (Oita)

จัดตั้งกิจการร่วมค้า 2 แห่ง ร่วมกับกลุ่มบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

 

  • บริษัท โอเวอร์ซี กรีน เอนเนอร์ยี่ จำกัด (“OGE”) จดทะเบียนในประเทศไทย ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้น 1 ล้านบาท โดย PSCL และบริษัท ราชบุรีพลังงาน จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 40 และร้อยละ 60 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามลำดับ เพื่อให้บริการด้านการบริหารจัดการโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น

  • RICI International Investment Pte. Ltd. (“RICI”) จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้น 2,476 บาท (100 ดอลลาร์สิงคโปร์) โดย CI และ RH International (Singapore) Corporation Pte. Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 40 และร้อยละ 60 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามลำดับ เพื่อเป็นนักลงทุนทีเค (TK Investor) ในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น

ปรับโครงสร้างการถือหุ้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารงานและขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ระหว่าง CI และ PSCL โดยคณะกรรมการของ CHOW มีมติปรับโครงสร้างการถือหุ้นดังต่อไปนี้

 

  • จัดตั้ง CEPL ด้วยทุนจดทะเบียน 221.54 ล้านบาท ตามผลรวมมูลค่ายุติธรรมของ CI และ PSCL ที่ประเมินตามวิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow) โดยที่ปรึกษาทางการเงินในขณะนั้น

  • CEPL ซื้อหุ้น CI และ PSCL จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ CI และ PSCL เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่ม

ภายหลังการปรับโครงสร้าง CHOW ถือหุ้นใน CEPL คิดเป็นร้อยละ 76.67 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท

เข้าซื้อใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น และสิทธิการใช้ที่ดินสำหรับโครงการ เคียวแทงโก (Kyotango)

 

โครงการโรงไฟฟ้าเคียวแทงโก จังหวัดเกียวโต เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ กำลังการผลิตติดตั้ง 4.02 เมกะวัตต์ อัตราการรับซื้อไฟฟ้า 40 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

CHOW จัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศไทย 2 แห่ง เพื่อดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

 

  • PSCL ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้น 5 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 50,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท เพื่อให้บริการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศและต่างประเทศ โดยเริ่มแรก CHOW ถือหุ้นร้อยละ 97 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และกลุ่มจิรธรรมศิริ (ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ CHOW) ถือหุ้นร้อยละ 3 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

  • CI ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้น 1 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท เพื่อลงทุนและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดย CHOW ถือหุ้นร้อยละ 99.97 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

PSCL ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น และ CI เพิ่มทุน โดยการเสนอขายหุ้นให้แก่นายธนชาต เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์การบริหารงานด้านการติดต่อประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้า

 

  • CHOW และกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมเสนอขายหุ้นสามัญเดิมของ PSCL จำนวน 9,500 หุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 100 บาท ให้แก่นายธนชาต ภายหลังการปรับโครงสร้าง CHOW และนายธนชาต ถือหุ้นใน PSCL ร้อยละ 81 และร้อยละ 19 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามลำดับ

  • CI เพิ่มทุนจดทะเบียนและชำระแล้วจาก 1 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท โดยเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่นายธนชาต จำนวน 85,000 หุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 100 บาท ภายหลังการปรับโครงสร้าง CHOW และนายธนชาต ถือหุ้นร้อยละ 83 และร้อยละ 17 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามลำดับ